Genuine Temporary Entrant (GTE)

Last updated: 10 ส.ค. 2565  |  636 จำนวนผู้เข้าชม  | 

Genuine Temporary Entrant (GTE)

Genuine Temporary Entrant (GTE)

     เป็นกฎเกณฑ์ใหม่ที่ประกาศใช้มาตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2011 เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาอนุมัติวีซ่านักเรียนอีกประการหนึ่งสำหรับผู้สมัครที่จะขอวีซ่านักเรียน โดยต้องแสดงเจตนาที่ชัดเจนของการมาออสเตรเลียว่าเพื่อศึกษาต่ออย่างแท้จริงมิใช่เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ด้วยเหตุนี้ หลังจากมีการประกาศใช้กฎเกณฑ์นี้มีผู้ถูกปฏิเสธวีซ่านักเรียนเยอะมากเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากพบว่าหลายๆคนใช้วีซ่านักเรียนเป็นทางผ่านเพื่อมาทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่เหตุผลที่ขอวีซ่านั้นๆ และนี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้องมีการเพิ่มกฎเกณฑ์นี้ขึ้นมา เพื่อที่จะคัดกรองผู้สมัครที่ต้องการที่จะศึกษาต่อเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ตัวเองอย่างแท้จริง หากไม่ทำเช่นนี้ คนที่ต้องการมาเรียนต่อจริงๆอาจจะต้องพลาดโอกาสดีๆ ไป                           

     ในการพิจารณาว่าเป็นการเข้ามาในประเทศออสเตรเลียเป็นการชั่วคราวนั้น หลักๆจะดูว่ามีเหตุจูงใจอันใดที่ผู้สมัครจะต้องการมาอยู่ที่ออสเตรเลียเป็นการถาวรหรือไม่ และจะพิจารณาดังนี้

     1.   สถานการณ์ในประเทศของตัวผู้สมัคร เช่น ปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง

     2.  ผลการเรียน หรือวุฒิการศึกษาของผู้สมัคร

     3.  สิ่งเชื่อมโยงระหว่างตัวผู้สมัครเองกับประเทศออสเตรเลีย เช่น ครอบครัว หรือมีญาติอยู่ที่ออสเตรเลียหรือไม่                                   

     4.  ผู้สมัครรู้ว่าหลักสูตรที่ตนเองเรียนนั้นมีเรียนอะไรบ้าง หรือรู้เกี่ยวกับโรงเรียน หรือประเทศออสเตรเลียมากน้อยแค่ไหน                   

     5.   ประวัติการเดินทางเข้าออกประเทศออสเตรเลีย 

     6.  ผู้สมัครต้องการวีซ่าเพียงเพื่อจะได้อาศัยอยู่ในออสเตรเลียได้นานขึ้นหรือไม่                                                                                          

     7.  การเลือกคณะสาขาวิชาและระดับการเรียน ดูว่าเหมาะสมกับระดับการศึกษาของผู้สมัครหรือไม่ หลังจากเรียนจบแล้วจะช่วยในเรื่องหน้าที่การงานของผู้สมัครอย่างไร

     8.   ถ้าผู้สมัครต้องการที่จะศึกษาต่อที่ออสเตรเลียเป็นระยะเวลาสั้นๆ สาขาวิชาที่จะเรียนนั้นเหมาะสมกับสถานการณ์ของผู้สมัครหรือไม่   

     9.  ผู้สมัครจะสามารถปฏิบัติตามข้อบังคับต่างๆที่มากับวีซ่าได้หรือไม่                                                                                                            

     10.  ความผูกพันธ์ของตัวผู้สมัครกับประเทศตนเองรวมทั้งปัจจัยส่วนตัวต่างๆ เช่น ครอบครัว สังคม และหน้าที่การงาน เพื่อดูว่าผู้สมัครมีความตั้งใจที่จะกลับประเทศหลังจากเรียนจบหรือไม่ หรือมีเหตุจูงใจอันใดที่จะส่อให้เห็นว่าผู้สมัครอาจจะไม่ต้องการกลับประเทศ                                      

     เพื่อการพิจารณา เจ้าหน้าที่อาจจะมีการโทรศัพท์จากสถานฑูตฯมาสัมภาษณ์ผู้สมัครเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หากการสัมภาษณ์ยังไม่เป็นที่พอใจ อาจจะมีการนัดหมายให้มาสัมภาษณ์ตัวต่อตัวก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะถามคำถามประมาณนี้ว่า                      

     1.  เกี่ยวกับหลักสูตรที่ลงเรียน                   

     2.  สถานศึกษาที่ลงเรียน(สถาบันสอนภาษา มหาวิทยาลัย หรือวิทยาลัย)                                                                                                         

     3.  ถ้ามหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยที่ลงเรียนมีหลายวิทยาเขต ผู้สมัครลงเรียนที่วิทยาเขตไหน                                                                         

     4.  พื้นเพทางการศึกษาของผู้สมัคร   

     5.  ทำไมถึงต้องการเรียนหลักสูตรนี้                   

     6.  หลักสูตรที่ลงเรียนนี้มีระยะเวลานานเท่าไหร่จึงจะเรียนจบ   

     7.  หลักสูตรที่ลงเรียนนี้จะช่วยในเรื่องการทำงานในอนาคตของผู้สมัครอย่างไร                                                                                  

     8.  ใครเป็นผู้ให้การสนับสนุน (sponsor)

     9.  หลังจากเรียนจบหลักสูตรที่ตนเองลงเรียนนี้แล้วผู้สมัครได้วางแผนอนาคตไว้ว่าอย่างไรอื่นๆ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้